top of page
Search

บทเรียนจากข้อสอบ PISA

เราสามารถเรียนรู้จากการสอบนานาชาติอย่าง PISA ได้เพื่อทำให้นักเรียนของเราสามารถเรียนได้ดีขึ้นและสามารถเผชิญกับโลกอนาคต สามารถปรับตัว และแสวงหาโอกาสในวันข้างหน้าได้




Q: นักเรียนกลุ่มที่ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมยากจนสามารถได้ผลคะแนนสอบที่ดีได้หรือไม่

นักเรียนที่มีพื้นฐานฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมเสียเปรียบจากกลุ่มอื่นๆ จำนวน 31% ในกลุ่มประเทศโออีซีดีสามารถสอบได้คะแนนได้ดีมากเมื่อเทียบกับนักเรียนที่มีพื้นฐานฐานะเสียเปรียบเช่นเดียวกันทั่วโลก โดยเราเรียกกลุ่มนักเรียนเหล่านี้ว่ากลุ่ม“Resilient” หรือ"กลุ่มนักเรียนที่แม้ฐานะไม่ดีแต่ก็ไม่ได้ส่งผลให้คะแนนทดสอบต่ำ"


ประเทศไทยมีกลุ่มนักเรียน Resilient ประมาณ 26-27% น่าสนใจที่จะต้องศึกษาต่อไปว่า กลุ่มนักเรียน 26-27% ในประเทศไทยทำได้อย่างไร ถือเป็น "จุดสว่าง" สำหรับการแก้ไขปัญหาการศึกษาของชาติได้ ความแตกต่างระหว่างผลการสอบของกลุ่มนักเรียนที่เรียกว่ากลุ่ม Resilient และกลุ่มที่ไม่ใช่ คือ นักเรียนกลุ่มResilient เข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอและใช้เวลาในห้องเรียนมากกว่า


นอกจากนี้ นักเรียนที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง (self-confident) และมีแรงจูงใจการเรียนมากกว่าจะอยู่ในกลุ่ม Resilient มากกว่า ดังนั้น กลุ่มนักเรียนที่มี ฐานะทางบ้านไม่ดี ก็สามารถเรียนให้ประสบ ความสำเร็จได้เช่นเดียวกัน ผ่านการให้โอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน การใช้เวลาในห้องเรียนให้เป็น ประโยชน์อย่างเต็มที่ และการส่งเสริมความ เชื่อมั่นในตนเองและแรงกระตุ้นภายในที่จะใช้ศักยภาพของตนให้เต็มที่ ฐานะทางบ้านก็จะไม่เป็นอุปสรรคอีกต่อไป





Q: พ่อแม่สามารถช่วยลูกของตนให้ประสบความสำเร็จในโรงเรียนได้อย่างไร


เด็กนักเรียนอายุประมาณ14 ปีที่พ่อแม่อ่านหนังสือให้ฟังบ่อยๆ ตั้งแต่ช่วงปีแรกของระดับประถมศึกษาจะมีผลคะแนนสอบสูงกว่าเด็กที่พ่อแม่ไม่ค่อยได้อ่านหนังสือให้ฟังตอนเด็กหรือไม่อ่านเลย ดังนั้นการช่วยลูกตั้งแต่เริ่มแรกศึกษาให้ผลลัพธ์ที่ดีในอนาคตได้อย่างแท้จริง


งานวิจัยเชื่อว่ายังไม่สายเกินไป หากผู้ปกครองจะให้ความสนใจกับลูกของตนเมื่ออายุเข้าสู่วัยรุ่น โดยพบว่าเด็กนักเรียนอายุ15 ปีที่พ่อแม่ชวนถกประเด็นทางการเมืองและทางสังคมประจำ จะมีคะแนนสูงกว่าพ่อแม่ที่ไม่ได้ทำและพ่อแม่ที่ชวนลูก“คุยเรื่องหนังสือภาพยนตร์รายการโทรทัศน์” “เรื่องกิจกรรมที่โรงเรียน” “การรับประทานอาหารมื้อหลักร่วมกัน” และ“ใช้เวลาพูดคุยกับลูก” จะพบว่านักเรียนมีผลการสอบด้านการอ่านดีกว่ากลุ่มพ่อแม่ที่ปล่อยปละละเลย


ดังนั้น พ่อแม่ทุกคนสามารถช่วยลูกของตนให้บรรลุศักยภาพสูงสุดได้โดยการใช้เวลาส่วนหนึ่งเพื่อพูดคุยและอ่านหนังสือกับเด็กๆ โดยเฉพาะเมื่อเด็กยังอายุน้อย ครู โรงเรียนและระบบการศึกษาก็ควรมีส่วนช่วยเด็กในกรณีที่พ่อแม่ยุ่งจนไม่มีเวลาได้ด้วยเช่นกัน





Q: ความเป็นอิสระของโรงเรียนและความรับผิดชอบของโรงเรียนมีผลต่อคุณภาพการศึกษาของนักเรียนหรือไม่


ประเทศที่โรงเรียนมีความอิสระ (autonomy) มากกว่าในหลักสูตรที่สอนและวิธีการประเมินผลของนักเรียนจะพบว่านักเรียนมีแนวโน้มที่จะมีผลการเรียนดีกว่า


ประเทศที่โรงเรียนมีความรับผิดชอบ (accountability) ต่อผลคะแนนโดยการเปิดเผยผลคะแนนต่อสาธารณะและโรงเรียนที่มีอิสระสำหรับจัดสรรทรัพยากรมีแนวโน้มที่จะมีนักเรียนที่มีผลการเรียนดีกว่าโรงเรียนที่มีความรับผิดชอบและอิสระต่ำ


โรงเรียนที่ไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับความรับผิดชอบเลยนั้น แม้จะมีอิสระสำหรับจัดสรรทรัพยากรการเรียนการสอนแต่ก็จะพบแนวโน้มผลการเรียนที่แย่มาก


ดังนั้น ความมีอิสระและความรับผิดชอบจึงต้องไปด้วยกันกับการมีอิสระการตัดสินใจในด้านหลักสูตรการประเมินผลการเรียนและการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอนมีแนวโน้มที่จะมีนักเรียนที่มีผลการศึกษาที่ดีกว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากโรงเรียนบริหารจัดการโดยมีความรับผิดชอบ






Q: เด็กนักเรียนชายหญิงพร้อมเข้าสู่ยุคดิจิทัล (Digital Age) หรือไม่


ทักษะการอ่านจากสื่อดิจิทัล (Digital Reading) วัดจากความสามารถการค้นหาวิเคราะห์ประเมินข้อมูลในบริบทที่ไม่คุ้นเคยและไม่ชัดเจนโดยสามารถค้นหาผ่านเว็บไซต์ต่างๆ ได้เองโดยไม่ต้องบอกเส้นทางที่แน่ชัดและสามารถอ่านตัวอักษรได้จากหลากหลายรูปแบบของสื่อ


การศึกษาพบว่านักเรียนผู้หญิงมีผลทดสอบทักษะการอ่านดิจิทัลได้ดีกว่าผู้ชาย อย่างไรก็ตามช่องว่างดังกล่าวแคบกว่าผลทดสอบทักษะการอ่านจากสิ่งพิมพ์เอกสาร (print reading) ในกลุ่มเด็กหญิงและเด็กชายที่มีระดับผลทดสอบทักษะการอ่านจากสิ่งพิมพ์เอกสารใกล้เคียงกันเด็กผู้ชาย มีแนวโน้มที่จะมีทักษะด้านการอ่านจากสื่อดิจิทัลได้ดีกว่า


Q: การลงทุนเรียนช่วงหลังเลิกเรียน ให้ผลดีหรือไม่


นักเรียนจากประเทศที่มีผลการทดสอบใช้เวลาเรียนในช่วงหลังเลิกเรียนน้อยกว่ากลุ่มที่ได้คะแนนต่ำ และมักใช้เวลามากกว่าการเรียนในห้องเรียนปกติ นอกจากนี้ เด็กนักเรียนที่เห็นความสำคัญของการเรียนวิทยาศาสตร์ จะใช้เวลาในห้องเรียนและมีผลการทดสอบ ด้านวิทยาศาสตร์ที่สูงกว่า คุณภาพและทัศนคติต่อการเรียน จึงเป็นประเด็นสำคัญมากกว่า ปริมาณเวลาการเรียน





Q: เงินสามารถซื้อผลคะแนน PISA ได้หรือไม่


ประเทศที่ร่ำรวยหรือมีรายจ่ายเพื่อการศึกษาสูงไม่ได้รับประกันว่าเด็กนักเรียนจะมีผลการเรียนที่ดีเสมอไปในกลุ่มประเทศที่รายได้สูงเหมือนกันจะพบว่างบประมาณที่ให้กับการศึกษามีความสำคัญน้อยกว่าวิธีการบริหารจัดการงบประมาณ


ระบบโรงเรียนที่ประสบความสาเร็จในกลุ่มประเทศรายได้สูงมีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับคุณภาพครู มากกว่าขนาดห้องเรียน ระบบโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จมีนักเรียนได้ผลคะแนนสอบสูงจะมีความเชื่อว่านักเรียนทุกคนสามารถบรรลุศักยภาพของตนได้และให้โอกาสดังกล่าวแก่นักเรียน


ดังนั้น เงินเพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถซื้อระบบการศึกษาที่ดีได้ผลการสอบที่ดีเกิดจากประเทศที่เชื่อว่านักเรียนทุกคนสามารถประสบความสำเร็จในโรงเรียนได้และให้ความสำคัญกับคุณภาพครูมากกว่าขนาดห้องเรียนขนาดเล็ก



สรุปได้ว่า

นักเรียนที่ยากจนก็สามารถเรียนดีได้หากตั้งใจและมีความเชื่อมั่น

พ่อแม่ควรเอาใจใส่การเรียนของลูก

วิธีการบริหารเงินสำคัญกว่าปริมาณเงินงบประมาณ

คุณภาพครูสำคัญกว่าขนาดห้องเรียน

ทัศนคติมีความสำคัญต่อผลความสำเร็จของการศึกษา

คุณภาพเวลาการเรียนสำคัญกว่าปริมาณเวลาการเรียน

ความอิสระและความรับผิดชอบมีความสำคัญต่อการจัดระบบการศึกษา

นี่คือบทเรียนจากข้อสอบ PISA



ในโลกยุคใหม่ เราสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต เราสามารถสร้างหลักสูตรของตนเอง แล้วเรียนรู้ไปเลยจากโลกของอินเทอร์เน็ตที่มีเกือบทุกอย่าง อย่างไรก็ดี โลกในโรงเรียนก็มีคุณค่า บทเรียนจาก PISA ช่วยให้กำลังใจกับเด็กนักเรียนและพ่อแม่ เพราะนักเรียนที่ยากจนก็สามารถเรียนดีได้หากตั้งใจและมีความเชื่อมั่น คุณภาพเวลาเรียนสำคัญกว่าปริมาณเวลาการเรียน และทัศนคติมีความสำคัญต่อผลความสำเร็จของการศึกษา


7 views0 comments

Comments


bottom of page