รัฐบาลกรุงโซล (Seoul Metropolitan Government: SMG) เกาหลีใต้ เป็นตัวอย่างที่สร้างสรรค์ในการบริหารจัดการเมือง โดยเฉพาะโครงการเมืองแบ่งปันที่ได้รับการยอมรับไปทั่วโลก รัฐบาลกรุงโซลได้เข้าไปจัดการกับปัญหาต่างๆ เช่น การขนส่ง ที่จอดรถ ที่พักอาศัย และสิ่งแวดล้อม โดยใช้ “นโยบายเมืองแห่งการแบ่งปัน” หรือเมืองที่ใช้ร่วมกัน (Sharing City) เพื่อช่วยแก้ปัญหาที่ใกล้ชิดกับชีวิตของประชาชน เช่น การลดค่าเลี้ยงดูแลเด็ก ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษารถยนต์ โรงเรียนแบ่งปัน พิพิธภัณฑ์แบ่งปัน ชุมชนแบ่งปัน ฯลฯ
โดยปัจจุบัน ปี 2018 มีวิธีการแชร์สิ่งต่างๆ มากกว่า 300 วิธีแล้ว

นอกจากนี้ ในช่วงที่ผ่านมา SGM ได้แต่งตั้งและสนับสนุนองค์กรและธุรกิจจำนวนมากที่ให้บริการแบ่งปัน นับตั้งแต่ที่มีการประกาศให้กรุงโซลเป็นเมืองแห่งการแบ่งปัน ทำให้ยอดขายของธุรกิจที่ให้บริการแบ่งปันได้เพิ่มขึ้น 9 เท่าในช่วงสองปีที่ผ่านมา
SMG ออกกฎหมายในเดือนธันวาคมปี 2012 การประกาศใช้กฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการแบ่งปันและได้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ใน 2013 SMG ได้เปิดตัว 'Share Hub' เพื่ออำนวยความสะดวกให้เศรษฐกิจแบ่งปัน เมืองแห่งการแบ่งปั่นของกรุงโซลโด่งดังไปทั่วประเทศและทั่วโลก มีเมืองกว่า 100 แห่งได้มาเรียนรู้เกี่ยวกับนโยบายการแบ่งปันของกรุงโซล ในระยะยาว เมืองได้ตั้งเป้าจะเป็นผู้นำในการสร้าง "Global Organizations for Sharing"
สนับสนุนธุรกิจและองค์กรที่ให้บริการแบ่งปัน
รัฐบาลกรุงโซลมีเครื่องมือในการสนับสนุนให้เกิดการแบ่งปันในทางปฏิบัติหลายอย่าง เช่น การสนับสนุนการให้คำปรึกษา การประชาสัมพันธ์ และการสนับสนุนด้านการเงินให้กับองค์กรและธุรกิจที่ให้บริการด้านการแบ่งปัน มูลค่าประมาณ 5 ล้านวอนต่อบริษัท (ประมาณ 150,000 บาท) รวมทั้ง สนับสนุนธุรกิจร่วมกันในเขตรอบๆ กรุงโซลด้วยจำนวนเงิน 3.6 ล้านวอน ตัวอย่างเช่น บริษัทแบ่งปันรถยนต์ เช่น Green Car และ So-car ที่มีจำนวนผู้ใช้รถร่วมกันทั้งหมดประมาณ 850,000 ครั้ง
ตัวอย่างการแบ่งปั่นเช่น โครงการ Modu-Parking (Modu หมายถึง สำหรับทุกคน) เป็นการจัดสรรที่จอดรถในที่พักอาศัยที่จะว่างในช่วงเวลาทำงาน โดยมีกว่า 2,000 จุดใน 7 เขต บริษัท Kiple ได้แชร์เสื้อผ้าเด็กจำนวน 8 ล้านชิ้น โดยร่วมกับศูนย์รับเลี้ยงเด็ก 230 แห่งในกรุงโซล และบริษัท PJT OK ที่ต้องการเพิ่มจำนวนบ้านที่ใช้ร่วมกันเพื่อลดครัวเรือนคนเดียว
ผลประโยชน์จากเมืองแบ่งปัน
SMG ได้ข้อสรุปว่าผลของการแบ่งปันพื้นที่จอดรถ การเปิดสถานที่อำนวยความสะดวกสาธารณะ และการใช้รถยนต์ร่วมกันว่ามีผลทางเศรษฐกิจประมาณ 48.4 พันล้านวอน (1.44 พันล้านบาท) มีพื้นที่จอดรถร่วมกัน 2,000 แห่ง คิดเป็นเงิน 160 ล้านวอน เปิดสถานที่สาธารณะ 139,366 ตารางเมตร กว่า1,000 แห่ง คิดเป็นเงิน 3,170 พันล้านวอน สมาชิกรถแบ่งปันร่วมกันที่สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายต่อคันรวมเป็นเงิน 7.4 พันล้านวอน


ที่ผ่านมามีการขยายการแบ่งปันสู่ชีวิตประจำวันของชาวเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น โครงการ Resident Parking Only โครงการ One Roof Inter-Generational Sympathy ซึ่งจะนำแนวคิดเรื่องการแบ่งปันเสื้อผ้าเด็กไปยังย่านต่างๆ ทั่วกรุงโซลและทดลองการใช้รถร่วมกันในอพาร์ทเมนต์คอมเพล็กซ์แทนการทำเพียงแค่ที่จอดรถาธารณะหรือโครงการโรงเรียนที่แบ่งปันสำหรับนักเรียนเพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าใจแนวคิดในการแชร์และใช้งานได้ตั้งแต่วัยเด็ก นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนสำหรับการแบ่งปันผู้เชี่ยวชาญ และการส่งเสริมการสร้างธุรกิจร่วมกันใหม่
โมเดลการแบ่งปันยังต่อยอดไปได้เรื่อยๆ เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของคนกลุ่มต่างๆ เช่นแม่บ้าน คนหนุ่มสาว นักวิชาชีพ และผู้เกษียณอายุ การกำหนดชุมชนให้เป็นชุมชนแบ่งปัน โรงเรียนแบ่งปัน ส่วนพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ก็ขยายเวลาการเปิดดำเนินการไปยังคืนวันหยุดสุดสัปดาห์และวันหยุดมีกิจกรรมร่วมกันและแคมเปญที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวเมือง
เมืองแห่งการแบ่งปันได้ทยอยเกิดขึ้นตามที่ต่างๆ ทั่วโลก ทั้งเมืองใหญ่เมืองเล็ก โดยเมืองเล็กๆ อาจสามารถเริ่มได้ง่ายกว่าเพราะชุมชนที่รู้จักกันมีแนวโน้มจะแบ่งปันอยู่แล้ว ส่วนเมืองใหญ่อาจจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีมาช่วยในการบริหารจัดการ ส่งเสริมธุรกิจที่มีโมเดลธุรกิจแบบแบ่งปันเพื่อความยั่งยืน และเปิดสิ่งอำนวยความสะดวกของภาครัฐและเอกชนในเมืองให้ผู้คนได้มีโอกาสให้ใช้ ก็จะช่วยให้การบริหารเมืองมีประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่ายของประชาชน และสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันของคนในเมืองได้ หากเมืองใหญ่ยังทำไม่ไหว เริ่มจากเมืองเล็กๆ ดูก่อนก็น่าจะดี
ที่มา:
Comentarios