top of page

THAILAND FUTURE 

Prototyping Day!

IMG_0066
IMG_0147
IMG_0145
IMG_0146
IMG_0144
IMG_0140
IMG_0141
IMG_0139
IMG_0138
IMG_0136
IMG_0137
IMG_0133
IMG_0132
IMG_0129
IMG_0131
IMG_0128
IMG_0127
IMG_0108
IMG_0068
IMG_0113
IMG_0110
IMG_0066
IMG_0147
IMG_0145
IMG_0146
IMG_0144
IMG_0140
IMG_0141
IMG_0139
IMG_0138
IMG_0136
IMG_0137
IMG_0133
IMG_0132
IMG_0129
IMG_0131
IMG_0128
IMG_0127
IMG_0108
IMG_0068
IMG_0113
IMG_0110

Prototyping Day!

วันที่ 16-17 พฤษภาคมที่ผ่านมา โครงการ Government Innovation Lab 2019 ได้จัด Workshop ต่อเนื่อง 2 วัน เพื่อระดมสมองในกระบวนการ Ideation และ Prototyping เพื่อสร้าง “นวัตกรรมบริการภาครัฐ” ในโจทย์ 5 กลุ่มวาระสำคัญของประเทศ คือเรื่องผู้ด้อยโอกาส แรงงานต่างด้าว ท่องเที่ยว การศึกษา และ SMEs
.
สถาบันอนาคตไทยศึกษา (Thailand Future) ได้ร่วมเป็นโค้ชให้กับ “ทีมผู้ด้อยโอกาส” ซึ่งเราตั้งเป้าหมายในใจไว้ว่า พวกเราจะทำให้แนวคิด “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมที่แท้จริง
.
ทีมผู้ด้อยโอกาสในครั้งนี้ ประกอบด้วยทีมที่หลากหลายความรู้และหลากหลายประสบการณ์มาก ทั้งข้าราชการ นักออกแบบ นักวิทยาศาสตร์ นักนโยบาย นักนวัตกรรม และ NGOs รวมถึงได้เชิญประชาชนมาร่วมกัน Co-design ในวันนี้ด้วย การมีทีมที่หลากหลายเป็นปัจจัยสำคัญในการร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างสนใจ เนื่องจากช่วยเติมเต็มและพัฒนาต่อยอดไอเดียของกันและกัน และร่วมกันคิดอย่างเป็นระบบ
.
นอกจากได้ผลงานต้นแบบที่น่าสนใจเพื่อแก้ไขปัญหาสำหรับคนจนคนด้อยโอกาสแล้ว ประชาชนที่เข้ามาร่วมก็รู้สึกภูมิใจ ดีใจที่มีคนรับฟังปัญหา ผู้เข้าร่วมก็รู้สึกได้สร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากหลายมุมมอง และร่วมกันสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับสังคมของเรา
.
ในอนาคต ภายใต้พลวัตที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นทุกขณะ เราคงต้องการทีมที่หลากหลายแบบนี้ในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน เราต้องการประชาชนหรือผู้ได้รับผลกระทบเข้ามาร่วมในกระบวนการออกแบบ เราต้องการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ผ่านการเปิดใจ รับฟังกันและกันอย่างแท้จริง และเมื่อทีมงานที่หลากหลายมารวมกันแก้ไขปัญหา ก็ไม่ยากที่เราจะค้นหาคำตอบที่ดี สร้างผลกระทบและตอบโจทย์ได้อย่างแท้จริง

#ThailandFuture #GovLab2019 #iTeamTh

THAILAND FUTURE 

สู่ Chapter ใหม่ของระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ

chapter ใหม่ระบบวิจัย.png

สู่ Chapter ใหม่ของระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ

ประเทศไทยกำลังอยู่ในห้วงของการปฏิรูป “ระบบอุดมศึกษา วิจัยและนวัตกรรม” ของประเทศครั้งสำคัญ ที่มุ่งเป้าหมายใหญ่ที่จะใช้ “การวิจัยและนวัตกรรม” และ “การศึกษาขั้นสูง” ผ่าน “คน” และ “เทคโนโลยี” เป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับประเทศไทยให้ก้าวพ้น “กับดักประเทศรายได้ปานกลาง” สู่ “ประเทศรายได้สูง” ในอนาคต
.
เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2562 ที่ผ่านมา เป็นโอกาสอันดีที่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ (NIDA) และสถาบันอนาคตไทยศึกษา (Thailand Future Foundation, TFF) ได้จัด Workshop ระดมความเห็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศกว่า 40 ท่านเพื่อร่วมกันเวิร์คช้อป “ออกแบบเครือข่ายหน่วยงานให้ทุนวิจัยในอนาคต” ภายใต้ความท้าทายใหม่ๆ ในอนาคต
.
รศ.ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รองผู้อำนวยการด้านการพัฒนาความร่วมมือกับองค์กรในระบบวิจัยและนวัตกรรม สกว. เป็นประธานในการเปิดงานและกล่าวบรรยายในหัวข้อ “การจัดตั้งสภานโยบายฯ และกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม”
.
ผศ.ดร.รักษ์พงศ์ วงศาโรจน์ รองอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ (NIDA) และคุณธราธร รัตนนฤมิตรศร คุณประกาย ธีระวัฒนากุล สถาบันอนาคตไทยศึกษา (Thailand Future Foundation, TFF)ได้ร่วมกันนำเสนอผลการศึกษา โครงสร้างหน่วยงานให้ทุนวิจัย ความคาดหวังของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย และประสบการณ์การบริหารทุนวิจัยในต่างประเทศ แล้วได้มีการนำ workshop ระดมความคิดเห็น
.
งานระดมสมองครั้งนี้ได้ประยุกต์ใช้วิธีการ Strategic Foresight และ Design Thinking เพื่อพูดคุยกันถึง Painpoint ของผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ ทั้งระบบ ความคาดหวังและข้อเสนอแนะ พร้อมกับแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่างประเทศ และร่วมกันมองอนาคตของการทำงานร่วมกันภายใต้เครือข่ายหน่วยงานให้ทุนวิจัย หน่วยงานนโยบาย มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยและผู้ใช้งานวิจัย เอกชนและประชาสังคม โดยงานดังกล่าวอยู่ภายใต้โครงการจัดตั้งเครือข่ายหน่วยงานให้ทุนวิจัยของทุกภาคส่วนของประเทศ (Thailand Research Funding Agency Network Project) ที่สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 
.
ผลของงานระดมสมองจะถูกนำไปออกแบบเป็นต้นแบบ (prototype) ของเครือข่ายความร่วมมือในอนาคต และจะนำไปทดลองทดสอบ (testing) เพื่อสร้างให้เกิดการบูรณาการการทำงานภายใต้ระบบวิจัยใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในปีนี้ ภายใต้โลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การผนึกการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็งจึงจะเป็นพลังที่จะขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อนาคตที่พึงปรารถนาร่วมกัน

Thailand Future x TRF x NIDA

#ThailandFuture #TRF #ThailandResearchFund #Research #NIDA

THAILAND FUTURE 

เปิดตัว Government Lab ปี 3 

เมื่อโลกเปลี่ยน ภาครัฐจึงต้องปรับตัวสู่ภาครัฐ 4.0 ที่เน้น "ประชาชนเป็นศูนย์กลาง" เป็นภาครัฐที่เปิดกว้าง คล่องตัว มีนวัตกรรม เพื่อสร้างนวัตกรรมในภาครัฐให้ตอบโจทย์ประชาชนท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงนี้ รัฐบาลได้ผลักดันแนวคิดห้องปฎิบัติการภาครัฐ ทั้ง Future Lab, Policy Lab และ Government Lab
.
ล่าสุดเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา ได้มีการเปิดตัว "ห้องปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ... พลิกโฉมนวัตกรรมงานบริการสาธารณะ" หรือ "Government Innovation Lab"
.
ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงาน ก.พ.ร. สภาพัฒน์ UNDP สถาบันอนาคตไทยศึกษา (Thailand Future Foundation) และหน่วยงานภาคีเครือข่าย โดยมีดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานพร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษ 
.
ในส่วนของ Government Innovation Lab ปีนี้ สถาบันอนาคตไทยศึกษา (Thailand Future Foundation) ได้เข้าร่วมเป็น Content Partner ในโครงการ เราจะร่วมค้นหาต้นแบบนวัตกรรมภาครัฐ (Prototype) ที่น่าสนใจ และนำไปขยายผลต่อเพื่อตอบโจทย์ Pain point ของประชาชน ร่วมกับเครือข่ายต่างๆ
.
ในอนาคต ยังมีโจทย์ความท้าทายอีกมากมายที่ Government Lab จะต้องระดมสรรพกำลังมาช่วยกันแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะโจทย์จาก ความท้าทายจาก Disruptive Technology, ความยากจนและความเหลื่อมล้ำ, Ageing Society และการไปสู่ประเทศไทย 4.0 หรือสังคม 5.0 รวมถึงการสร้างนวัตกรรมภาครัฐใหม่ๆ และการส่งเสริม Startup ที่ตอบโจทย์ปัญหาสังคม มาร่วมกันสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ประเทศไทย ผ่าน Platform นวัตกรรมแห่งนี้ร่วมกัน

#GovLab #Thailandfuture

THAILAND FUTURE 

Strategic Foresight: Redesign NIDA together 

สถาบันอนาคตไทยศึกษา (Thailand Future Foundation) ได้มีโอกาสร่วมเป็นวิทยากรในงาน Strategic Foresight Workshop เพื่อออกแบบองค์กรแห่งอนาคต ภายใต้หัวข้องาน "Redesign NIDA together" เมื่อวันที่ 10-11 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา
.
โดยเป็นงานระดมสมองของผู้บริหารสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์หรือ NIDA เพื่อนำไปสู่ยุทธศาสตร์แนวทางการพัฒนาสถาบันในอนาคต โดยในงานได้รับเกียรติจากท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อุดม คชินทรมาเป็นองค์ปาฐกฉายภาพพลวัตการเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศภายใต้ Disruptive Technology และความท้าทายยุคใหม่ 
.
งานนี้เป็นงาน Strategic Foresight ที่เข้มข้นตลอด 2 วันที่ผู้บริหารร่วมสร้างวิสัยทัศน์ใหม่สู่อนาคตสมดังที่สถาบัน NIDA มีม็อตโตว่า Wisdom for Change

THAILAND FUTURE 

Social Innovation และ CSR/CSV 
 

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา"Thailand Future" ได้ร่วมดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้าง Social Innovation และ CSR/CSV กับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่สำนักงานใหญ่ ปตท.
.
การประชุมเชิงปฏิบัติการได้ประยุกต์ใช้แนวคิด Design Thinking ที่เน้น People-Centered design เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกำหนดกลุ่มเป้าหมาย (Target Group) ที่ต้องการให้ความช่วยเหลือ กำหนดประเด็น Pain Points และ Gain Points ของกลุ่มเป้าหมาย จากนั้นจึงระดมสมองเพื่อค้นหานวัตกรรมทางสังคมเพื่อตอบโจทย์ปัญหาหลักของกลุ่มเป้าหมาย แล้วจึงดำเนินการจัดลำดับความสำคัญและความเกี่ยวข้องกับงานขององค์กร 
.
ผู้เข้าร่วม workshop ได้ร่วมกันสร้างต้นแบบ (Prototype) โมเดลนวัตกรรมทางสังคมที่น่าสนใจ และร่วมกันพัฒนา Collaboration Model ระหว่างหน่วยงานต่างๆ 
.
การประชุมเป็นไปอย่างสนุกสนานและสร้างสรรค์เป็นอย่างมาก ความริเริ่มดังกล่าวจึงเป็นที่น่ายินดีที่องค์กรต่างๆ ได้ให้ความสำคัญกับการสร้าง Social Innovation และ CSV (Creating Shared Value) กันมากขึ้น รวมถึงแบ่งปันความคิดและประสบการณ์จากบุคลากรขององค์กรที่มีคุณภาพสูงมาร่วมกันรังสรรค์นวัตกรรมทางสังคม ซึ่งจะช่วยสร้างธุรกิจและสังคมให้ยั่งยืนได้อย่างแท้จริง
.
#thailandfuture #ptt #nia #designthinking #csr #csv

THAILAND FUTURE 

Future Lab : Strategic Foresight 20 ปีข้างหน้า "Future of Disaster Management" ของไทย 


ทีมสถาบันอนาคตไทยศึกษา (Thailand Future) มาร่วมงานเป็นวิทยากรกิจกรรมนี้เพื่อทบทวนจัดทำแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติในระยะ 5 ปีข้างหน้า
.
เวทีนี้ทุกคนช่วยกันระดมไอเดีย ใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญและจินตนาการในการประเมิน Trend, Uncertainty และจัดทำฉากทัศน์อนาคต (scenario) 
.
ผู้เข้าร่วมได้มีความเห็นร่วมกันว่า อนาคตภัยพิบัติจากธรรมชาติและจากมนุษย์สร้างขึ้นจะเพิ่มมากขึ้น รวมถึงมีความเป็นไปได้ที่อาจเกิดภัยอุบัติใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศมาก่อน จึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการสาธารณภัยที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงค้นหาเครื่องมือ กลไกใหม่ ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยียุคใหม่ โดยเฉพาะ Smart Technology เพื่อวางแนวทางป้องกัน ตลอดจนให้ความสำคัญกับจิตสำนึกและองค์ความรู้ในการจัดการภัยพิบัติในทุกระดับ รวมถึงเชื่อมโยงกับเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ
.
สถาบัน Thailand Future ขอขอบคุณ ท่านชัยณรงค์ วาสนะสมสิทธิ์ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผอ.ชัชดาพร บุญพีระณัช ผู้อำนวยการกองนโยบายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทีมงานกองนโยบายฯ ปภ. และขอบคุณผู้แทนทั้ง 19 กระทรวงและหน่วยงานกลาง 3 หน่วยงานที่มาร่วมแชร์ไอเดียและมองอนาคตเรื่องการจัดการสาธารณภัยของประเทศไทยร่วมกันในครั้งนี้ และร่วมขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงต่อไป

 

#ThailandFuture #FutureLab

THAILAND FUTURE 

Future Lab กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำภาพอนาคตเชิงยุทธศาสตร์ในมิติด้านความมั่นคงของประเทศ