top of page
Search

Decisive: วิธีฉลาดในการตัดสินใจ

Decisive by Chip Health and Dan Health


ผู้เขียนคือ Chip Health และ Dan Health ซึ่งเคยเขียนหนังสือดีอย่าง Made to Stick: Why some Ideas Survive and Others Die และ Switch: How to Change Things When Chang is Hard ซึ่งช่วยเปิดโลกและสร้างแรงบันดาลใจในทำงานให้กับผู้คนเป็นอย่างมาก ในหนังสือ Switch: How to make better choices in life and work ได้เสนอแนวทางการ เปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ผ่านเรื่องเล่าที่หลากหลาย




หนังสือ Switch เสนอความคิดว่าการเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ ต้องทำ 3 อย่าง คือ การทำให้ส่วน “เหตุผล” ของมนุษย์เปลี่ยนแปลง โดยเปรียบเทียบกับส่วนนี้ว่าเป็น “ควาญช้าง” ประการที่สอง การทำให้ส่วนที่เป็น “อารมณ์” ของมนุษย์เปลี่ยนแปลง เรียกส่วนนี้ว่า “ช้าง” และประการ 3 คือ “สภาพแวดล้อม” เรียกส่วนนี้ว่า “ทางเดิน” อย่างนี้เป็นหัวใจของการเปลี่ยนแปลงที่ควรทาร่วมกัน


เขาได้เสนอวิธีในการเปลี่ยน “ควาญช้าง” “ช้าง” และ “ทางเดิน” อย่างเป็นระบบ เช่น การค้นหาจุดสว่าง (Bright Spot) โดยการพยายามหาจุดสว่างภายใต้สถานการณ์ที่ดูมืดมน เพื่อตัวอย่างดีภายใต้บริบทเหล่านั้นแล้วถอดบทเรียนออกมา เราก็จะสามารถหาคำตอบได้


กับดักความคิดของมนุษย์


ในหนังสือ Decisive เล่มนี้ ผู้เขียนกล่าวถึงคำอธิบายของ Daniel Kahneman ผู้ได้รับรางวัลโนเบลเศรษฐศาสตร์ ที่กล่าวว่า มนุษย์มักจะกระโดดไปหาข้อสรุปอย่างรวดเร็ว เพราะว่าเราให้น้ำหนักกับข้อมูลที่อยู่ตรงหน้าเรา ในขณะที่ล้มเหลวในการพิจารณาข้อมูลอื่น เขาเรียกแนวโน้มพฤติกรรมแบบนี้ของมนุษย์ว่า “สิ่งที่เราเห็นคือทั้งหมดที่มี” หรือ Chip Health และ Dan Health เรียกว่า “Spotlight Effect”

ทำไมการตัดสินใจที่ดีจึงยาก? ผู้เขียนตอบว่าเพราะมนุษย์มีความลำเอียง (Biases) หรือมีความไม่สมเหตุสมผล หลายครั้ง มนุษย์เราพึ่งพาสัญชาตญาณและกึ๋นในการตัดสินใจที่สำคัญ ซึ่งบ่อยครั้งกึ๋นของเรามีปัญหา ดังนั้น เราจึงไม่สามารถพึ่งพาสัญชาตญาณในการตัดสินใจได้เพียงอย่างเดียว แต่สามารถใช้ กระบวนการที่เหมาะสมมาช่วยให้เราตัดสินใจที่ดีขึ้นได้


สาเหตุของการตัดสินใจที่ผิดพลาดว่าเกิดจากความผิดพลาดที่สำคัญ 4 ข้อใหญ่ คือ


1. ความผิดพลาดจากการตั้งโจทย์แคบเกินไป (Narrow Framing) หรือการวางกรอบความคิดแคบเกินไป จึงบีบให้เราตัดสินใจบนกรอบที่แคบตามไปด้วย เช่น การตั้งโจทย์ให้เลือกแค่ 2 ทางเลือก ตัวอย่างหากเราตั้งโจทย์ว่า “เราควรยกเลิกความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานหรือไม่?” แทนที่จะตั้งโจทย์ว่า “อะไรจะทาให้ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับเพื่อนร่วมงานดีขึ้นได้บ้าง?” หรือเราตั้งโจทย์ว่า “เราจะซื้อรถใหม่ ดีหรือไม่?” แทนที่จะตั้งโจทย์ว่า “อะไรคือทางที่ดีที่สุดในการใช้จ่ายเงินเพื่อทาให้ครอบครัวเราดีขึ้น?” หลายครั้ง เราเลือกผิด เพราะว่าโจทย์ผิดนั่นเอง


2. ความผิดพลาดจากความลำเอียงเพราะเราเชื่อข้อมูลเฉพาะที่ยืนยันความเชื่อของเรา (Confirmation Bias) เรามักเชื่อในสถานการณ์หนึ่ง แล้วเราก็หาข้อมูลต่างๆ ที่ในที่สุดก็กลับมายืนยันความเชื่อของเราเอง นักวิจัยพบหลักฐานมากมายที่แสดงให้เห็นว่า เมื่อเราให้คนสามารถหาข้อมูลต่างๆ ได้เต็มที่ เราก็มีแนวโน้มที่มักจะหาข้อมูลที่มาสนับสนุนความเชื่อ ทัศนคติหรือการกระทำที่เราต้องการ สุดท้าย เราก็ตกอยู่ในกับดักของตัวเอง ปฏิเสธข้อมูลที่หักล้างของเชื่อของเราออกไป โดยไม่รู้ตัว ทั้งที่อาจเป็นข้อมูลที่ดีและช่วยให้เราตัดสินใจถูกต้องมากขึ้นก็ได้ การร่วมกันคิด มีมุมมองที่หลากหลาย จึงสำคัญกว่าการคิดคนเดียวหรือการประชุมที่ไม่อนุญาตให้เห็นต่างกันได้


3. ความผิดพลาดจากอารมณ์ระยะสั้น (Short-term Emotion) ในการตัดสินใจยากๆ หลายครั้ง ถ้ามีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น พอใจ ไม่พอใจ รัก หรือชัง มักจะทำให้ทุกอย่างยากขึ้น เรามักเถียงกับตัวเองในหัวสมอง เปลี่ยนใจกลับไปกลับมา ทั้งที่ข้อเท็จจริงอาจจะตรงไปตรงมา เพียงแต่อารมณ์เราสวิงไปมาจนตัดสินใจผิดพลาด ดังนั้น หลายครั้งที่คนนอกจะมองเห็นทางออกของปัญหามากกว่าคนใน เพราะไม่มีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง


4. ความผิดพลาดจากความเชื่อมั่นมากเกินไป (Overconfidence) เรามักคิดว่าเรารู้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร เชื่อว่าสามารถคาดการณ์ได้จากข้อมูลที่มีอยู่ ทั้งที่ อนาคตมีส่วนที่เป็นความไม่แน่นอน (uncertainty) หรือความประหลาดใจ หรือปรากฏการณ์หงส์สีดำ เกิดขึ้นได้เสมอ ไม่ว่าจะผลกระทบจากเทคโนโลยีใหม่ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ การก่อการร้าย วิกฤตเศรษฐกิจ ที่อาจเกิดขึ้น แล้วทำให้สมมติฐานของเราผิดพลาดไปหมด


ตัดสินใจให้ดีขึ้น ผ่านโมเดล WRAP


เราสามารถเอาชนะความลำเอียงดังกล่าวได้ผ่าน WRAP Model


1. เอาชนะความผิดพลาดจากการตั้งโจทย์แคบเกินไป ผ่าน “การเพิ่มทางเลือก” (Widen Your Options) เช่น การทิ้งกรอบแคบไป การสร้างความคิดทางเลือกให้หลากหลาย หรือการหาใครสักคนที่เคยแก้ปัญหาแบบที่เราเจอเข้ามาช่วย


2. เอาชนะความผิดพลาดจากความลำเอียงที่เกิดจากการเชื่อข้อมูลที่ยืนยันความเชื่อของเรา (Confirmation Bias) โดย “การทดสอบสมมติฐานของเรากับความเป็นจริง” (Reality-Test Your Assumptions) เช่น พิจารณาข้อมูลตรงกันข้ามกับข้อมูลของเรา พิจารณาจากมุมมองภายในและมุมมองภายนอก (Zoom in Zoom out) ทำการทดลองเล็กๆ เพื่อยืนยันทฤษฎีของเราก่อน ก่อนจะนำไปขยายผล


3. เอาชนะความผิดพลาดจากอารมณ์ระยะสั้น (Short-term Emotion) ด้วย “การวางระยะห่างจากปัญหาก่อนที่จะตัดสินใจ” (Attain Distance before Deciding) เช่น เอาชนะอารมณ์ระยะสั้นจากอารมณ์ชอบสิ่งที่เราคุ้นเคยและกลัวการสูญเสีย โดยมองจากมุมมองภายนอกอื่น เช่น ถ้าเป็นเพื่อนเราจะทำอย่างไร ถ้าเป็นอาจารย์ของเราจะทำอย่างไร หรือเขียนลำดับความสำคัญของเราไว้เป็นแกนหลักเพื่อช่วยตัดสินใจ จะช่วยให้ไม่หวั่นไหวไปกับอารมณ์จนมากเกินไป


4. เอาชนะความผิดพลาดจากความเชื่อมั่นมากเกินไป (Overconfidence) ด้วย “การเตรียมตัวที่จะผิด” (Prepare to Be Wrong) เช่น การเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับอนาคต การเผื่อสำหรับความผิดพลาดไว้บ้าง (Safety Factor) ไว้ระดับหนึ่ง



ผู้เขียนเรียกกระบวนการทั้งสี่ประการข้างต้นเพื่อให้จำง่ายว่า “WRAP” จากการนำคำกริยาที่สำคัญของแต่ละทางออกมารวมกัน โดยเชื่อว่าช่วยให้การตัดสินใจของคนดีขึ้นมาก หนังสือเล่มนี้เต็มไปด้วยเรื่องราวและเรื่องเล่า สนุก มากมาย บนฐานของงานวิจัยที่หนักแน่น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเข้าใจง่ายและมีเหตุผล

215 views0 comments
bottom of page