ชีวิตของคนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร เมื่อเจ็บป่วยต้องการยารักษาโรคหรือเลือด กว่ายาและเลือดจะจัดส่งไปถึง… ก็อาจช้าไปเสียแล้ว
จากชีวิตที่เคยต้องแขวนบนเส้นด้ายและโชคชะตา ทุกวันนี้ “โดรน” กลายมาเป็นผู้ช่วยจัดส่งเลือด และเป็นผู้ช่วยชีวิตผู้คนเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยชีวิตผู้คนได้เรื่องนี้ เกิดขึ้นในแอฟริกา

ทุกวันนี้ แพทย์ในประเทศรวันดา แอฟริกาจะได้รับข้อความหนึ่งนาทีก่อนที่โดรนจะมาถึงว่า "เดินออกไปข้างนอกและรับการพัสดุของคุณ" และนั่นทำให้แพทย์ สามารถมีเลือด สิ่งที่พวกเขาต้องการเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยได้
นั่นเป็นเรื่องราวที่ดี และน่าอัศจรรย์ใจมาก จากเดิมที่ผู้คนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล กว่าจะเดินทางไปถึงโรงพยาบาล ก็เป็นเรื่องยากลำบากมากแล้ว และใช่ว่า เมื่อชีวิตถึงมือหมอแล้วจะปลอดภัยเสมอไป บางครั้งบาดเจ็บหรือป่วยหนัก ต้องการเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย หรือต้องการเลือดเพื่อมาต่อชีวิต ระยะทางที่ห่างไกล ย่อมทำให้มีโรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยในพื้นที่ห่างไกลขาดแคลนอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์และขาดแคลนเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องเลือดนั้นเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาก
ผู้ป่วยที่อาการสาหัส ต้องการเลือดอย่างมากและต้องการอย่างทันท่วงที เลือดที่ศูนย์อนามัยหรือโรงพยาบาลท้องถิ่นจัดเก็บไว้อาจมีไม่เพียงพอ การร้องขอเลือดจากที่อื่นเป็นเรื่องจำเป็น หากแต่เลือดนั้นมีอายุการจัดเก็บเป็นระยะเวลาที่สั้น การจัดส่งเลือดไปยังพื้นที่ห่างไกล ที่ปกติต้องใช้เวลาการขนส่งเป็นเวลานานหลายชั่วโมงหรือเป็นวันนั้น คงทำให้ชีวิตผู้คนจำนวนไม่น้อย ที่เลือกเกิดในพื้นที่แห่งความเจริญไม่ได้ ต้องมาจบชีวิตลง ชีวิตแล้วชีวิตเล่า
เป็นเรื่องน่ายินดี และน่าตื่นเต้น ที่โดรนสามารถบินไปยังพื้นที่ห่างไกลของประเทศรวันดา ในแอฟริกา ทำหน้าที่จัดส่งเลือดไปให้กับแพทย์เพื่อรักษาผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที
คุณ Keller Rinaudo ผู้ประกอบการด้านหุ่นยนต์ เล่าว่า ตัวเขาใช้เวลาอย่างมากในแอฟริกา และบริษัท Zipline ได้ใช้เครื่องบินไฟฟ้าอิสระเพื่อส่งยาไปยังโรงพยาบาลและศูนย์สุขภาพตามความต้องการ นับเป็นการเปิดตัวระบบจัดส่งอัตโนมัติแห่งแรกของโลกที่ดำเนินงานในระดับประเทศ
เมื่อเรามองเรื่องนี้ดีๆ สิ่งที่น่าสนใจก็คือ เทคโนโลยีนี้ไม่ใช่เรื่องหรูหราไกลตัว หรือจับต้องไม่ได้
การใช้เทคโนโลยีนี้ทำให้ประเทศรวันดาสามารถเก็บรวบรวมเลือดได้มากขึ้นจากส่วนกลางและให้บริการเมื่อผู้ป่วยต้องการของโดยเฉลี่ยใช้เวลาเพียง 20 หรือ 30 นาทีเท่านั้น
คุณ Keller Rinaudo เล่าให้ผู้ชม TED ฟังถึงกระบวนการทำงานของโดรน Zip โดยเขาได้ฉายภาพการทำงานของโดรนผู้นำส่งเลือดว่า “ศูนย์กระจายสินค้าของเราซึ่งอยู่ห่างจาก Kigali ประมาณ 20 กิโลเมตร ที่นี่เคยเป็นทุ่งข้าวโพด รัฐบาลรวันดาได้ปรับระดับและสร้างศูนย์แห่งนี้ ดังนั้น เมื่อผู้ป่วยเกิดภาวะฉุกเฉินแพทย์หรือพยาบาลที่โรงพยาบาลแห่งนั้น สามารถส่งข้อความผ่าน WhatsApp มาให้เราเพื่อบอกสิ่งที่พวกเขาต้องการ ทีมงานของเราจะเริ่มดำเนินการทันที เราดึงเลือดจากคลังของเรา ซึ่งส่งมาจากศูนย์โลหิตแห่งชาติ เราสแกนเลือดเข้าสู่ระบบของเรา เพื่อให้กระทรวงสาธารณสุขทราบว่าเลือดไปไหน แล้วเราก็จะบรรจุลงใน Zip ซึ่งเป็นสิ่งที่เราเรียกว่า เครื่องบินอิสระ ซึ่งใช้กับแบตเตอรี่ จากนั้นเมื่อ Zip พร้อมที่จะเดินทางเราจะเร่งความเร็วจากศูนย์เป็น 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงภายในเวลาประมาณครึ่งวินาที และจากช่วงเวลาที่ปล่อยออกจากเครื่องจะเป็นอิสระ”
เมื่อ Zip มาถึงโรงพยาบาล โดรนจะก็ลงไปประมาณ 30 ฟุต และหย่อนแพ็คเกจที่บรรจุเลือดอยู่ในนั้น การจัดส่งนี้ใช้ร่มชูชีพกระดาษที่เรียบง่าย และนี่คือ สิ่งที่เรียบง่ายดีที่สุด เพราะช่วยให้แพ็คเกจสามารถวางลงบนพื้นได้อย่างเบาๆ และเชื่อถือได้ทุกครั้ง วันนี้เราจึงส่งมอบโลหิตแห่งชาติรวันดาประมาณร้อยละ 20 ของคิกาลี เราให้บริการโรงพยาบาลประมาณ 12 แห่งและเรากำลังเพิ่มโรงพยาบาลในเครือข่ายนั้นในอัตราเร่ง ทุกโรงพยาบาลเหล่านั้นได้รับเลือดในลักษณะนี้และโรงพยาบาลเหล่านั้นส่วนใหญ่จะสั่งซื้อสินค้าหลายครั้งทุกวัน
แพทย์สามารถรับสิ่งที่ต้องการได้ทันที พวกเขาสต็อคเลือดน้อยลงในโรงพยาบาล ดังนั้น แม้ว่าการใช้ผลิตภัณฑ์ในเลือดมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมากที่โรงพยาบาลทั้งหมดที่เราให้บริการ แต่ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาศูนย์เลือดของโรงพยาบาลเหล่านี้ก็ต้องปิดตัวไป

รวันดาเป็นประเทศแรกที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงเพื่อทำอะไรบางอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้ Zipline ช่วยให้สามารถก้าวกระโดดข้ามโครงสร้างพื้นฐานแบบเดิมเพื่อไปสู่ระบบใหม่และดีกว่า “เด็ก ๆ และวัยรุ่นที่เรียงรายอยู่บนรั้วทุกวัน พวกเขาเชียร์การเปิดตัวโดรนทุกครั้งและเชื่อมโยงไปถึงทุกที่” Keller Rinaudo เล่าด้วยรอยยิ้ม เขาเห็นอนาคตอยู่ในตัวเด็กๆ และวัยรุ่นเหล่านี้
สิ่งที่เราต้องการคือการมองปัญหาซ้ำซากเดิมๆ แล้วแก้ด้วยมุมมองใหม่ๆ เอาชนะข้อจำกัดเดิม ด้วยเครื่องมือใหม่ๆ เปิดโอกาสให้ความคิดสร้างสรรค์ได้ออกเดินทาง เพื่อเป้าหมายในการเอาชนะความท้าทายที่มีชีวิตผู้คนเป็นเดิมพัน
Comments